วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของผักหวานบ้าน Benefits of Sweet leaf Bush by LASIK HEALTHY EYES

ขอบคุณภาพประกอบจาก kasetporpeang.com
ประโยชน์ของผักหวานบ้าน (Sweet leaf Bush)
Benefits of Sweet leaf Bush.

ชื่อสมุนไพร ผักหวานบ้าน
ชื่ออื่นๆ ผักหวานใต้ใบ (สตูล) มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์) ก้านตง ใต้ใบใหญ่ จ๊าผักหวาน ผักหลน (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauropus androgynus (L.) Merr.
ชื่อพ้อง Sauropus albicans Bl.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ  Star Gooseberry, Sweet leaf Bush

ขอบคุณภาพประกอบจาก foodnetworksolution.com

ผักหวาน เป็นผักที่ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นพืชสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินซี (vitamin C) เบตา-แคโรทีนซึ่งช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา และมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงและ มีใยอาหารช่วยในการขับถ่าย

ขอบคุณภาพประกอบจาก phargarden.com

ผักหวานมี 2 ประเภท ดังนี้

1. ผักหวานบ้าน (EUPHORBIACEAE:Sauropus abicans) ลักษณะเป็นไม้พุ่มต้นเล็ก ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบคล้ายใบมะยม แต่มีนวลขาว บนหน้าใบ ดอกเล็กเป็น ช่อสีแดง ขาว ผลขนาดเล็ก มีสีเขียวอ่อน จานรองผลมีสีแดงเข้มติดห้อยย้อยตามกิ่งใต้ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมใช้ต้นอ่อนมาปลูกในสวน ตามพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมรั้วบ้านหรือที่ใกล้แหล่งน้ำ

ข้อควรระวัง : การรับประทานผักหวานไม่ควรรับประทานสดๆ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผักหวานบ้านมีสารอัลคาลอยด์ปาปาเวอรีน (papaverine) ซึ่งเป็นพิษต่อปอด และมีรายงานผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เนื้อเยื่อปอดถูกทำลายชนิด bronchiolitis obliterans (SABO) syndrome จากการกินผักหวานเป็นจำนวนมากเพื่อต้องการลดน้ำหนัก

2. ผักหวานป่า (OPILLACEAE :Melientha suavis) เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่ขึ้นเองตามป่าราบ มีทุกภาคในประเทศไทย ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางใบใหญ่ยาวคล้ายใบมะตูมผิวขาวนวล ผลกลม ขนาดเล็ก สีแดง ใบอ่อน ใช้รับประทานได้ เช่น ใบผักหวานบ้าน แต่รสหวานดี และมีราคาแพงกว่าผักหวานบ้าน

ข้อควรระวัง : การบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสดๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้

การเก็บใบผักหวานป่าไปรับประทาน ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีต้นไม้ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นเสน" เป็นไม้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับต้นผักหวานมาก ลำต้นออกมีสีหม่นๆ และใบหนากว่ากันเล็กน้อย ใบต้นเสนถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน คอแห้ง อ่อนเพลีย หมดสติ ถ้ากำลังน้อย อาจตายได้

ข้อควรระวังในการบริโภคผักหวานป่า 

การบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสดๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวาน

ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของผักหวานทั้ง 2 ชนิดคล้ายคลึงกัน จัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินซี เบตา-แคโรทีนซึ่งช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง และมีใยอาหารช่วยในการขับถ่าย

คุณค่าทางโภชนาการ

นอกจากนี้ จากรายงานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (กองโภชนาการ 2535) มีการศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบ และยอดผักหวานพบว่าใบและยอดผักหวาน 100 กรัม มีทั้งไขมัน ,คาร์โบไฮเดรต , เส้นใย, โปรตีน, วิตามินบี, วิตามินบี 2,  วิตามินซี,  แคลเซี่ยม,  เหล็ก, ฟอสฟอรัส,ไนอาซีน (วิตามินบี 3) และยังมีวิตามินเอ ที่มีประโยชน์กับสายตาสูงถึง 20.503 หน่วยสากล วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความสำคัญต่อร่างกายในด้านการมองเห็น ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
     
ยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ให้พลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญคือ

- น้ำ 76.6 กรัม
- โปรตีน 8.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม
- ใยอาหาร 3.4 กรัม
- เถ้า 1.8 กรัม
- เบตา-แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี (vitamin C) 115 มิลลิกรัม

ประโยชน์ในการประกอบอาหาร

ส่วนของผักหวานบ้าน (Sweet leaf Bush) ที่นำมาใช้ทานเป็นผัก ก็คือ ใบและยอดอ่อน โดยใช้เป็นผักจิ้ม ซึ่งนิยมลวกให้สุกเสียก่อน หรือนำไปแกง เช่น แกงเลียง หรือแกงจืด นอกจากนั้นยังนำไปผัด เช่น ผัดน้ำมันหอย เป็นต้น น่าสังเกตว่า ชนิดอาหารที่ปรุงจากผักหวานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผักจิ้ม แกงเลียง แกงจืด หรือผัดน้ำมันหอย ล้วนแล้วแต่มีเครื่องปรุงแต่งน้อย เพราะรสชาติของผักหวานบ้าน มีรสชาติดีกว่าผักทั่วไป คนไทยปัจจุบันไม่ค่อยได้กรับประทานผักหวานบ้านเหมือนในอดีต เพราะในตลาดไม่ค่อยพบผักหวานบ้านวางขาย ทั้งที่รสชาติของผักหวานบ้านนั้นดีกว่าผักส่วนใหญ่ที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่ชอบอาหารรสจัดน่าจะชอบผักหวานบ้านเป็นพิเศษ

ผักหวานบ้าน ตรงใบและยอดอ่อน จะมีวิตามินเอมากเป็นพิเศษ คือใน ๑๐๐ กรัม มีวิตามินเออยู่สูงถึง ๑๖,๕๙๐ หน่วยสากล (IU) วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความสำคัญต่อร่างกายในด้านการมองเห็น ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)

ผักหวาน ที่เป็นไม้ยืนต้นในจำนวนไม่มากนักที่มีวิตามินเคอยู่ด้วย ซึ่งวิตามินเคนี้มีสรรพคุณในการช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผลเลือดออก ช่วยให้ตับทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับวิตามินดีในการควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างเซลล์กระดูกและเนื้อเยื่อไต

โดยทั่วไปแล้วประมาณร้อยละ ๕๐ ของวิตามินเคได้มาจากการสังเคราะห์ของแบคทีเรียในลำไส้ และหากรับประทานอาหารอย่างสมดุล ร่างกายก็จะได้รับวิตามินเคอย่างเพียงพออยู่แล้ว ส่วนที่เหลือได้จากอาหารที่มีวิตามินเค ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี่ ผักโขม ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักหวานบ้าน ตับ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งวิตามินซีและเบตา-แคโรทีน ซึ่งมีอยู่ในผักหวานและแครอทอาจถูกทำลายไปบ้างจากความร้อนในการต้ม ดั้งนั้น เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการ จึงไม่ควรใช้เวลาในการต้มผักนานเกินไปและควรรับประทานทันทีหลังปรุงเสร็จใหม่ๆ

ข้อควรระวัง

ใบผักหวานเมา มีลักษณะคล้าย ใบผักหวานมาก ลักษณะแตกต่างที่เห็นชัด คือ
1. ลักษณะช่อดอกของผักหวานซึ่งเป็นดอกแยกเพศ และเป็นช่อดอกคล้ายช่อแยกแขนง
2. ส่วนผักหวานเมานั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกกระจะ

หากพบในช่วงที่ไม่มีช่อดอกนั้นสามารถแยกความแตกต่างที่ลักษณะใบได้ดังนี้ 
1. ผักหวานมีปลายใบมนหรือแหลมและแผ่นใบกว้างกว่า
2. ส่วนผักหวานเมานั้นมีปลายใบเรียวแหลมและแผ่นใบแคบกว่า
       
สรุปได้ว่าผักหวานที่สามารถรับประทานได้มีสามชนิด คือ
- ผักหวานมักเรียกกันว่าผักหวานป่า
- ผักหวานบ้านซึ่งพบได้ทั่วไป และ
- ผักหวานป่าหรือผักพูมซึ่งพบเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น

ส่วนผักหวานที่มีความเป็นพิษนั้นคือ ผักหวานเมาหรือผักแหวน ซึ่งมีลักษณะคล้ายผักหวานมากแต่สามารถแยกความแตกต่างได้ดังแสดงไว้ในตารางสรุป



ขอบคุณภาพประกอบจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งข้อมูล/ข้อมูลอ้างอิง

ผักหวาน : Food Network Solution
http://goo.gl/RhQggB
ผักหวานบ้าน - ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=77
ผักหวาน (Star Gooseberry) - FoodTravel
http://www.foodtravel.tv/recingradientshow_detail.aspx?viewId=275
แกงจืดผักหวาน | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
http://www.doctor.or.th/article/detail/11228
ข้อควรระวังคือใบผักหวานเมามีลักษณะคล้ายใบผักหวานมาก
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตาจารย์ ดร.วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=145
ผักหวานบ้าน ปลอดสารพิษ : hm-garden
http://goo.gl/KiS4bb
Sweet Leaf Bush ~ Survival Food - Herbs are Special
http://herbsarespecial.com.au/isabells_blog/sweet-leaf-bush-survival-food.html
ผักหวานบ้าน - The-Than.com
http://www.the-than.com/samonpai/P/46.html

"HkVogue Thailand" http://buff.ly/1GR2YNk
Contact : Willy Tel. 093 649 2288
email : hkvoguethailand@gmail.com

ข้อแนะนำ

ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี

บทความที่ได้รับความนิยม