วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีสังเกตอาการต้อกระจก CATARACT เบื้องต้น How CATARACT preliminary observation.

วิธีสังเกตอาการต้อกระจก CATARACT เบื้องต้น

วันนี้มีวิธีสังเกตอาการต้อกระจก CATARACT เบื้องต้นมาฝากค่ะ หากท่านผู้อ่าน สังเกตการมองเห็นของตัวเองแล้วมีอาการเหล่านี้ ควรจะรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสภาพตาว่า เป็นต้อกระจกหรือไม่ จะได้รักษา ก่อนที่จะเป็นมากจนมีอาการแทรกซ้อนจนไม่สามารถรักษาได้ทันน่ะค่ะ

ต้อกระจกอาจสังเกตุได้จากอาการเหล่านี้คือ

1.ตามัวลง เห็นภาพพร่ามัวหรือเลือนลาง เนื่องจากเลนส์เป็นฝ้าขุ่นจนสายตาไม่สามารถโฟกัสได้ โดยมากจะค่อยๆ มัวลงทีละน้อย นอกจากอุบัติเหตุหรือโรคบางชนิด อาจมัวได้อย่างรวดเร็ว

2.ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย เพราะสายตาสั้นมากขึ้น คือการมองไกลจะไม่ค่อยชัด และการมองระยะใกล้จะชัดเจนกว่า พบในต้อกระจกบางชนิด

3.มีปัญหาการมองเห็น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่แสงจ้า หรือการมองดวงไฟในเวลากลางคืน

4.ตาข้างหนึ่งอาจเห็นภาพซ้อน ซึ่งเกิดจากแสงที่กระทบเรตินากระจายออกหลายจุด

5.มองเห็นสีต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะสีเหลือง

6.ปวดตาและมีต้อหินแทรก อาการนี้อันตรายมาก เพราะสายตาจะมัวไปเรื่อย ๆ และแก้ไขให้มองเห็นใหม่ได้ยากหรือบางครั้งไม่ได้เลย

ทั้งนี้ หากสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสภาพตาโดยละเอียด เพื่อรับการรักษาได้ทันเวลาและเหมาะสมที่สุด


Trick & Tip : สารอาหารต้านภัยจากโรคตา

สำหรับเรื่องของสารอาหารนั้น พบว่าสารอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของตา มีหลายชนิดด้วยกัน คือ

- ธาตุสังกะสี ธาตุสังกะสีมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ การคงสภาพของผนังเซลล์ การมองเห็นในที่มืด การรับรส และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- วิตามินเอ อาการทางตาของการขาดวิตามินเอ เริ่มจากอาการตาบอดกลางคืนในระยะแรก และมีเยื่อบุตาขาวแห้ง เนื่องจากการสร้างเมือก และน้ำตาตามเยื่อบุต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- วิตามินอี ทำหน้าที่เป็น สารแอนติออกซิแดนต์
- วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็น แอนติออกซิแดนต์เช่นเดียวกับวิตามินอี ซึ่งช่วยป้องกันต้อกระจกได้

สิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องของการป้องกัน แต่เราควรจะทำกันให้เป็นนิสัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบถ้วน ก่อนที่จะสายเกินแก้


ขอบคุณข้อมูลเรื่องสารอาหารจาก :
www.cheewajit.com ฉบับที่ 116
http://www.yourhealthyguide.com/article/as-glaucoma-care.html

ข้อมูลอ้างอิง :

ต้อกระจก CATARACT  โดยปกติจะเกิดขึ้นในบุคคลทีมีอายุ 55-60 ขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา ทำให้เลนส์ตาซึ่งปกติแล้วจะมีลักษณะโปร่งใส่เหมือนกระจก กลายเป็นสีขาวขุ่น ส่งผลให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง ทำให้เกิดอาการตาฟางหรือมืดมัว มองเห็นภาพไม่ชัด

ข้อแนะนำ

ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี

บทความที่ได้รับความนิยม