กินเพื่อบำรุงสายตาที่ดี
Eat for Good Vision
เวลาไปตรวจตา ผู้ป่วยบางคนได้วิตามินบำรุงสายตากลับบ้านไป บางคนไม่ได้ อายุก็ไม่ได้แตกต่างกัน แต่ทำไมถึงได้ยาไม่เหมือนกัน แล้วเมื่อไรคุณหมอจะสั่งวิตามินบำรุงสายตา คำถามเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในใจหลายๆ คน มาดูกันว่าใครที่สมควรได้วิตามินบำรุงสายตาบ้าง
ผลวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าการให้วิตามิน C, E เบต้าแคโรทีน, ธาตุสังกะสี, และธาตุทองแดง มีประโยชน์ในการชะลอการเสื่อมมากขึ้นของผู้ป่วยที่เป็น โรคจอประสาทตาเสื่อมตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป (Moderate Age-Related Macular Degeneration)
ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่มีโรคจอประสาทตาเสื่อมเพียงเล็กน้อยอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนักจากการรับประทานวิตามินดังกล่าว จักษุแพทย์จะเป็นผู้ประเมินระดับความเสื่อมของจอประสาทตาจากการขยายม่านตา (Iris)
ดังนั้นถ้ามาตรวจตาแล้วไม่ได้วิตามินกลับไปรับประทาน นั่นแสดงว่าจอประสาทตา (Retina) ยังมีสุขภาพดีอยู่หรือผิดปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าอย่างนั้นเรามีวิธีการบำรุงสายตาโดยการทานอาหารเสริมได้หรือไม่? จากการวิจัยของแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศ พบว่าการรับประทานอาหารเสริมที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาได้
1. วิตามิน A – เป็นสารที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตาและมีบทบาทสำคัญในการมองเวลากลางคืน ซึ่งพบมากในผักจำพวก ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม ฟักทอง
2. วิตามิน B – มีการศึกษาพบว่าวิตามิน B1 และ B12 อาจมีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจกได้ โดยแหล่งที่มีวิตามินชนิดนี้มาก ได้แก่ ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ นมสด
3. วิตามิน C – เป็นที่รู้จักกันดีของการชะลอความแก่ของร่างกายด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) นอกจากนั้นยังอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้อีกด้วย ผลไม้ที่มีวิตามิน C มาก ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม ส่วนผัก ได้แก่ กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่
4. วิตามิน E – ก็เป็นวิตามินอีกตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา และจากการศึกษาพบว่าอาจมีบทบาทช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกเช่นเดียวกัน พบได้ใน น้ำมันธัญพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด ถั่วเหลือง
5. เบต้าแคโรทีน (betacarotene) – เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ซึ่งมีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการมองเห็นในกลางคืนเช่นเดียวกับวิตามิน A พบมากในผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น แครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง ข้อควรระวังคือการรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปอาหารเสริมมากไปในคนที่สูบบุหรี่จะเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งปอดได้
6. ลูทีน และ ซีแซนทิน (lutein and zeaxanthin) – เป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตาและเลนส์ตา มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม พบมากใน ผักโขม ไข่แดง ข้าวโพด บร็อคโคลี่
7. ซีลีเนียม (selenium) – เป็นสารอีกตัวหนึ่งที่ต้านอนุมูลอิสระและอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก โดยพบได้ใน หอยนางรม หอยลาย ตับไก่ เมล็ดทานตะวัน
8. สังกะสี (zinc) – มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยในการทำให้จอประสาทตาเสื่อมที่เป็นอยู่แล้วเป็นช้าลง โดยแหล่งที่พบสังกะสีได้แก่ หอยนางรม ตับ เนื้อสัตว์
9. สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) – นอกจากคุณสมบัติเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่สมองแล้วยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เกี่ยวกับสายตาพบว่าอาจช่วยรักษาลานสายตาผิดปกติในต้อหินบางชนิดได้
10. โอเมก้า 3 (omega-3) – เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งพบมากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ผลไม้ที่พบได้เช่น ผลกีวี่ จะเห็นได้ว่าอาหารที่มีคุณสมบัติบำรุงสายตานั้นมีอยู่รอบๆ ตัวเรา หลายชนิดที่สามารถปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ ดังนั้นคุณก็สามารถถนอมสายตาและมีสุขภาพดีได้โดยไม่ต้องใช้ยาบำรุงใดๆ เลย
ขอบพระคุณบทความโดย: พ.ญ.ปรียทรรศน์ ศุขโรจน์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ผักผลไม้อาหารมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ปลาแซลมอน เนื้อปลาแซลมอนนั้นมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ DHA ที่สามารถช่วยปกป้องจากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งโปรตีนในเนื้อปลายังช่วยในเรื่องของโรคตา และยังสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้อีกด้วย
ผักคะน้า คะน้ามีลูทีน และ ซีแซนทีน ที่ช่วยบำรุงสายตาสูง รับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการเสี่ยงของการเกิด โรคต้อกระจก ได้ถึง 20 % โรคกระจกตาเสื่อม (AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
ผักเคล/กะหล่ำปลีชนิดสีเขียวเข้ม เคล กะหล่ำปลีชนิดสีเขียวเข้ม ผักขม หัวผักกาดเขียวและบล็อคโครี่นั้น มีคุณประโยชน์คือให้วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาให้มีประกายที่สดใส มีเบต้าแคโรทีน และยังช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็ง มีแคลเซียม วิตามินซี และเส้นใยอาหารสามารถป้องกันโลหิตจางได้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม webmd
http://www.webmd.com/eye-health/good-eyesight
Maintaining Good Eye Health
Don't take your eye health for granted. Protect your eyesight with these six tips:
1. Eat for Good Vision
Protecting your eyes starts with the food on your plate. Studies have shown that nutrients such as omega-3 fatty acids, lutein, zinc, and vitamins C and E may help ward off age-related vision problems such as macular degeneration and cataracts. Regularly eating these foods can help lead to good eye health:
- Green, leafy vegetables such as spinach, kale, and collards
- Salmon, tuna, and other oily fish
- Eggs, nuts, beans, and other non-meat protein sources
- Oranges and other citrus fruits or juices
Eating a well-balanced diet also helps you maintain a healthy weight, which makes you less likely to get obesity-related diseases such as type 2 diabetes. Diabetes is the leading cause of blindness in adults.