วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของมันเทศสีม่วง Benefits of Purple Sweet Potato

ประโยชน์ของมันเทศสีม่วง Benefits of Purple Sweet Potato

        เนื้อมันเทศมีสีม่วงเข้ม เป็นมันเทศที่มีสาร “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) อยู่สูง ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้

        นอกจากนั้นยังช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา และพบว่าสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ในธรรมชาติผักและผลไม้ที่มีสารแอนโทไซยานินมากมักจะสีม่วง เช่นองุ่นแดง บลูเบอรี่ ฯลฯ สำหรับพืชหัวจะมีมากในหัวมันเทศเนื้อสีม่วง โดยเฉพาะมันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ได้เนื้อมันเทศที่มีสีม่วงเข้มตลอดทั้งหัว มันเทศ เป็นแหล่งคาโบไฮเดรตชั้นดีที่ให้พลังงานโดยไม่ก่อพิษต่อร่างกายแบบอาหารแปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่นๆ
       
        ส่วนใบและยอดอ่อนของมันเทศ (Sweet potato) สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ และยังมีวิตามินเอ วิตามินซี สารอาหารลูทิน (Lutein) ที่ช่วยบำรุงสายตา ผัดยอดมันเทศเป็นอาหารที่คนมาเลเซียรับประทานกันเป็นประจำ

       ส่วนมันเทศเนื้อสีส้มมีสารเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยลดอัตราการกลายพันธ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง การนำยอดมันเทศมาปรุงอาหารพบว่ามีในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก :
The Oven Farm

ข้อมูลอ้างอิง :
The George Mateljan Foundation
http://www.whfoods.com/genpage.php?tname=foodspice&dbid=64#nutritionalprofile


Nutritional Profile

The orange-flesh sweet potatoes are exceedingly rich in beta-carotene. The purple-flesh varieties are outstanding sources of anthocyanins, especially peonidins and cyanidins. Both types of sweet potatoes are rich in unique phytonutrients, including polysaccharide-related molecules called batatins and batatosides. Sweet potatoes also include storage proteins called sporamins that have unique antioxidant properties. Sweet potatoes are an excellent source of vitamin A (in the form of beta-carotene). They are also a very good source of vitamin C and manganese. In addition, sweet potatoes are a good source of copper, dietary fiber, niacin, vitamin B5, and potassium.


ข้อมูลอ้างอิง :
มันเทศ จากวิกิวิทยาศาสตร์
http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=มันเทศ

การปลูกมันเทศเนื้อสีม่วง จากประเทศญี่ปุ่น

"มันเทศ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ค้นพบโดยโคลัมบัส ที่เกาะไฮติ อเมริกากลาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2035 หรือประมาณ 500 ปีเศษที่ผ่านมา และจากประวัติศาสตร์มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าคนในยุโรปส่วนใหญ่จะรู้จักมันเทศก่อนมันฝรั่งด้วยซ้ำไป คนอังกฤษกินมันเทศตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีตำนานเล่าขานกันว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 กินมันเทศอบพายทุกวัน ในฐานะอาหารกามเพื่อหวังจะให้ชีวิตรักของพระองค์ดีขึ้น"

มันเทศมีปลูกในอเมริกากลางมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันก็ยังเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวแคริบเบียนและสหรัฐอเมริกาตอนใต้ ในทวีปเอเชียก็พบประวัติการปลูกมันเทศมายาวนานไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในหมู่ชาวโพลินิเซียนในหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น เกาะตาฮิติ ฟิจิ รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มันเทศเป็นหนึ่งในอาหารและพืชพันธุ์ที่มาพร้อมกับเรือพ่อค้าฝรั่งในศตวรรษที่ 16-17 ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง มันเทศได้กลายเป็นอาหารหลักที่สำคัญของคนจีนในสมัยนั้น

ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศมีสูงกว่ามันฝรั่งด้วยซ้ำไป ในเนื้อมันเทศนอกจากจะมีปริมาณแป้งสูงแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมาก มันเทศเนื้อสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงไม่แพ้แครอตและสาหร่ายทะเล

ในขณะที่มันเทศเนื้อสีม่วงจะมีสารแอนโทไซยานินสูง (สารแอนโทไซยานินจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ และยังทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษและช่วยชะลอความแก่ชราได้) มีข้อมูลว่าในบางประเทศมีการใช้เนื้อมันเทศสีม่วงเป็นคาร์โบไฮเดรตแทนข้าวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไม ในปัจจุบันมันเทศเนื้อสีม่วงที่มีวางขายในทั่วโลกจึงมีราคาค่อนข้างแพง ขายถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม :
trueปลูกปัญญา
http://www.trueplookpanya.com/true/webboard_detail.php?postid=353&pageNo=1

ผักสีม่วง สีน้ำเงินมีสารสีแดง หรือม่วง

เรียกว่า แอนโทไซยานิน ( ANTOCYANINS ) เช่นสีม่วง ในดอกอัญชัน กะหล่ำปลีม่วง มะเขือม่วง ชมพู่ม่าเหมี่ยว เผือก  มันเทศสีม่วง ซึ่งสารนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  นอกจากนี้มีฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือดช่วยลดความดันโลหิต และช่วยในการป้องกันฟันผุ

ข้อแนะนำ

ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี

บทความที่ได้รับความนิยม