ผักผลไม้ป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม Nutrition & AMD |
มลภาวะรอบๆตัวเรา
แสงอัลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดเป็นแหล่งของอนุมูลอิสระที่ทำลายตาของเรา เป็นสาเหตุของต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม (macula degeneration) ซึ่งนำไปสู่สาเหตุของตาบอดในผู้สูงอายุในวัย 65 ปีขึ้นไป นอกจากแสงแดดแล้ว บุหรี่ และอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์ (สารต้านอนุมูลอิสระ)ต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ปัจจัยดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการใช้แว่นตากันแสงยูวี หรือสวมหมวกป้องกันแสงแดดไม่ให้ทำลายดวงตา เลิกบุหรี่ หรือเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่ และบริโภคอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงๆ
อาหารชะลอตาเสื่อม
อาหารประเภทผักและผลไม้มีสารอาหารที่ช่วยรักษาสุขภาพของดวงตาและลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเลนส์ตาคือ สารแอนติออกซิแดนท์ (วิตามินซี อี เบตาแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทิน สังกะสี และสารไบโอเฟลโวนอยด์) รวมทั้งไรโบเฟลวิน
- วิตามินอี ช่วยป้องกันปฏิกริยาการสลายตัวของกรดไขมันที่อยู่รอบ ๆ เลนส์ตา คนที่มีระดับวิตามินอีในเลือดสูงอาจลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกถึง50%
- อาหารที่มีวิตามินซีสูงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้ วิตามินซีจะช่วยขจัดโปรตีนส่วนที่ถูกทำลายจากเลนส์ของดวงตา ป้องกันไม่ให้เกิดต้อกระจก คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยการทำงานของวิตามินอี และแคโรทีนอยด์ด้วย ดังนั้นในแต่ละวันจึงควรรับประทานวิตามินซีให้ได้ 300 มิลลิกรัมขึ้นไป ซึ่งวิตามินซีในปริมาณนี้หารับประทานจากอาหารประจำวันได้ไม่ยาก
- แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ประกอบไปด้วยเบต้าแคโรทีน ลูทีน (lutein) และซีแซนทิน (zeaxanthin) ไลโคพีน ทั้งหมดนี้ช่วยป้องกันเลนส์ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระเช่นกัน
- เบตาแคโรทีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการมองเห็นในที่มืด เบตาแคโรทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพตา ช่วยบำรุงรักษาดวงตา และป้องกันโรคตาหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคตาบอดกลางคืน และยังช่วยให้ผิวเยื่อเมือกในส่วนต่างๆของร่างกายชุ่มชื้นขึ้นอีกด้วย
- ลูทีน และซีแซนทิน เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่มีสีเหลือง พบมากในพืชผักที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ผักบุ้ง ผักกาดเขียว ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม ลูทีนและซีแซนทินเป็นสารธรรมชาติที่พบมากในตาบริเวณจุดรับภาพและจอประสาทตา ทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดและกรองแสงสีน้ำเงินที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายดวงตา ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายดวงตา ร่างกายจำเป็นที่จะต้องได้รับสารลูทีนจากอาหาร แต่สารซีแซนทินนอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารลูทีนในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ ดังนั้นผู้ที่บริโภคผักผลไม้หลายหลายสีมากเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
อย่างไรก็ตามการวิจัยยังพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระประเภทวิตามินซี อี และแคโรทีนอยด์ ในอาหารธรรมชาติให้ผลที่ดีกว่าการใช้วิตามินทั้ง 3 เสริม ดังนั้นนักวิจัยจึงแนะให้บริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อรีบสะสมสารต้านอนุมูลอิสระเสียแต่เนิ่น ๆ จะป้องกันอันตรายจากโรคตาเสื่อมตามวัยได้
- ไบโอเฟลโวนอยด์ พบมากในบูลเบอร์รีหรือบิลเบอร์รี องุ่นแดง ส้ม และแครนเบอร์รี ไบโอเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระคือสารแอนโธไซยานิดิน ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระทำอันตรายให้กับเลนส์ตาและสร้างความแข็งแรงให้กับสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างบริเวณกระจกตา (Cornea) และเส้นเลือดฝอยในตา ปัจจุบันสารสกัดบิลเบอร์รีได้รับความนิยมมากรองจากลูทีน นอกจากจะช่วยป้องกันเลนส์ตาแล้วยังช่วยให้มองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงสลัวๆ ได้ชันเจน บิลเบอร์รีหรือบลูเบอร์รีสดวันละ 1/2 - 1 ถ้วยตวง ให้สารแอนโธไซยานิดินเท่ากับที่ร่างกายต้องการในการรักษาสุขภาพตา
- ไรโบเฟลวิน เป็นวิตามินบีตัวหนึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ขณะเดียวกันก็ต้องระวังการเสริมไรโบเฟลวินมากเกินกำหนดแทนที่จะช่วยกลับจะเป็นอันตรายต่อตาได้ เพราะจะเพิ่มความไวของดวงตาต่อการถูกทำลายด้วยแสงแดดได้
- แร่ธาตุสังกะสี อาหารที่มีธาตุสังกะสีสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ อาจมีผลในการป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตาได้เช่นกัน
- ระวังอาหารรสเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงโซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือแกง อาหารที่มีโซเดียมสูงนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูงแล้วยังอาจมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจกได้ ระดับโซเดียมที่ต่ำในลูกตาจะป้องกันเลนส์ตาขุ่นฝ้า การรับประทานอาหารเค็มจัดจะทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินควรจึงทำให้เกิดปัญหาการรักษาระดับโซเดียมในตา
ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่จะทำลายเลนส์ตาและทำให้จอประสาทตาเสื่อมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคผักและผลไม้อย่างหลากหลายเป็นประจำทุกวันนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้แน่นอนกว่าการเสริมวิตามินแล้วยังช่วยในการรักษาสุขภาพกายด้านอื่นๆ ป้องกันโรคเรื้อรังไม่ติดต่อมากมาย
ข้อมูลอ้างอิง :
Nutrition Therapy นิตยสาร Health & Cuisine
ข้อมูลอ้างอิง :
โรคจอประสาทตาเสื่อม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.rcopt.org/news-public-87.html
ข้อมูลอ้างอิง :
Nutrition & AMD - American Macular Degeneration Foundation
http://www.macular.org/nutrition/index.html
Consumption of fruits and vegetables containing two carotenoid pigments may be linked to a reduced risk for age-related macular degeneration, the leading cause of vision loss in people over the age of 55. According to research, lutein and zeaxanthin comprise a component of the central region of the retina and may play a role in some aspects of visual acuity. Increasing the concentration of these pigments in the eye may prevent the devastating vision loss caused by age-related macular degeneration.
Carotenoids are phytochemicals (chemicals found in plants) commonly found in certain fruits and vegetables that provide the red, orange and yellow colors of these foods. Lutein and zeaxanthin are found primarly in broccoli, corn, squash and dark green leafy vegetables like spinach and kale.
Lutein and zeaxanthin are concentrated in the fovea, the central region of the retina, in a spot known as the macula lutea, or yellow spot. The macula helps produce the sharp central vision needed for activities like reading, sewing and driving.
According to an article in The British Journal of Ophthalmology(2.) eating green leafy vegetables, which are rich in lutein and zeaxanthin, may decrease the risk for age-related macular degeneration. The goal of this study was to analyze various fruits and vegetables to establish which ones contain lutein and/or zeaxanthin and can serve as possible dietary supplements for these carotenoids.
Egg yolk and yellow corn contain the highest mole percentage (% of total) of lutein and zeaxanthin (more than 85% of the total carotenoids). Yellow corn was the vegetable with the highest quantity of lutein (60% of total) and orange pepper was the vegetable with the highest amount of zeaxanthin (37% of total). Substantial amounts of lutein and zeaxanthin (30-50%) were also present in kiwi fruit, grapes, spinach, orange juice, zucchini, and different kinds of squash. The results show that there are fruits and vegetables of various colors with a relatively high content of lutein and zeaxanthin.
Most of the dark green leafy vegetables, previously recommended for a higher intake of lutein and zeaxanthin, have a 15-47% of lutein, but a very low content (0-3%) of zeaxanthin. This study shows that fruits and vegetables of various colors can be consumed to increase dietary intake of lutein and zeaxanthin.