วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพื่อการดูแลสุขภาพ ด้วยผักผลไม้หลากสี ( Phytonutrients) Information for health care. With colorful fruits and vegetables

ข้อมูลเพื่อการดูแลสุขภาพ ด้วยผักผลไม้หลากสี 
( Phytonutrients)
Information for health care . 
With colorful fruits and vegetables. 

วิถีชีวิตในสังคมปัจจุบัน เราต้องยอมรับความจริงว่า อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เรามักไม่ค่อยได้คำนึงถึงการคัดเลือกคุณค่าและปริมาณของอาหารที่เหมาะสมมากนัก รวมถึงการไม่มีเวลาสำหรับการออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การมีความเครียดท่ามกลางสภาวะแวดล้อม และมลภาวะรอบตัว ล้วนแล้วแต่เป็นตัวนำพาโรคร้ายมาสู่ตัวเราทั้งสิ้น

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า 28% ของคนไทยไม่นิยมรับประทานผักและผลไม้ (ไม่รับประทานเลยหรือรับประทานน้อยกว่า 5 วัน/สัปดาห์) ซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 16.74 ล้านคน อาจเป็นเพราะไม่มีเวลา ไม่ชอบ เลือกไม่ได้ หรือการสูญเสียสารอาหารของผักและผลไม้ในระหว่างการขนส่ง การปรุงเป็นอาหาร

ทำให้คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่ไม่ได้รับสารอาหารจากผักและผลไม้ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เพื่อช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสื่อมของเซลล์ และเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มะเร็งได้ง่ายขึ้น และกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังดังกล่าวอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและสมองได้เร็วขึ้น

จากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันคนเราเผชิญกับปัญหาสุขภาพการเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้นในช่วงอายุที่น้อยลง ปัจจุบันในทางการแพทย์พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อวัยวะและร่างกายเสื่อมสภาพเกิดจากอนุมูลอิสระ แต่ยังโชคดีที่เราสามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารโดยเฉพาะกลุ่มผักและผลไม้

จากการศึกษาค้นคว้า และผลการวิจัยจากแหล่งต่างๆ ในหลายประเทศ เห็นตรงกันว่า พืชผักจำนวนมาก มีสารอาหารที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนเราได้ โดยภายใต้สีสันอันสวยงามของพืชผักและผลไม้นานาชนิดนั้น มีกลุ่มสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือกลุ่มสารแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่เป็นตัวกำหนดสีของพืชนั่นเอง กลุ่มสารเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคร้าย อย่างโรคมะเร็งและโรคหัวใจซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก ดังนั้นถ้ากินผักและผลไม้ให้หลากหลาย เราก็จะได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ที่สามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังด้วย

สีน้ำเงิน สีม่วง สีแดง

องุ่นแดง, สตรอเบอรี่, แอปเปิ้ล, เชอรี่, แบรคเคอเรนท์, ราสเบอรี่, แครนเบอรี่, บิลเบอรี่, เบอรี่, เอลเดอเบอรี่

ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ชะลอความเสื่อมของดวงตา และยังช่วยยับยั้งเชื้อ อีโคไลในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย

สีเขียว

แตงกวา, หน่อไม้ฝรั่ง, กะหล่ำปลี, ส้ม, แอปเปิ้ล, ชาเขียว, บร็อคโคลี, องุ่นขาว

ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกและโรคศูนย์จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ช่วยประตุ้นการทำงานของตับให้สร้างเอนไซม์ออกมาใช้ในการต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่มดลูกและที่เต้านมที่มีสาเหตุจากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกิน นอกจากนั้นยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และซีลีเนียม ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของร่างกาย

สีขาว

กระเทียม, หัวหอม, แอปเปิ้ล, จมูกข้าวสาลี

มีฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและลดการต้านยาในเซลล์มะเร็ง มีคุณสมบัติดูดจับโมเลกุลของโลหะ ลดโคเลสเตอรอล ลดไขมันและปริมาณน้ำตาลในเลือด

สีเหลืองส้ม

แครอท, มะละกอ, ส้ม, สับปะรด, ขมิ้นชัน, มะเขือเทศ, แอพริคอต, เกรปฟรุ๊ต,

ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ บำรุงรักษาตับ ลดระดับโคเลสเตอรอล ป้องกันสมองเสื่อม ช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคต้อกระจก ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดี

สีแดง

มะเขือเทศ, มะละกอ, เชอรี่, สตรอเบอรี่, เมล็ดทับทิม, บิลเบอร์รี่, เบอร์รี่, เอลเดอเบอร์รี่

ต้านอนุมูลอิสระ ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด

นอกจากผักและผลไม้ที่หลากหลายและครบถ้วนแล้ว การได้รับวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกายให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน ก็จะช่วยให้กระบวนการทำงานของร่างกายเป็นไปโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิตามินที่ร่างกายควรได้รับได้แก่ วิตามินเอ , บี 1, บี2, บี6, บี12, วิตามินซี, วิตามินดี 3, วิตามินอี, วิตามินเค, ไบโอติน, กรดโฟลิก, ไนอะซิน, และกรดแพนโทธีนิก

ขอบคุณบทความจาก MEGA We care
ขอบคุณาพประกอบจาก google

Reference :

นิตยสาร "หมอชาวบ้าน" (สิงหาคม ๒๕๔๘)
นิตยสาร"สรรสาระ" (ตุลาคม ๒๕๔๕ )
นิตยสาร "HEALTH & CUISINE" (๒๕๔๖)
รายงานสรุปการพัฒนาสมุนไพรไทย ขมิ้นชันด้วยนาโนเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัช กรรม
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช กินป้องกันโรค : 135
การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร : www.nso.co.th
D. W.Choi, J. Y. Kim, S. H. Choi, H. S. Jung, H. J. Kim, S. Y. Cho, C. S. Kang and S. Y. Chang, Food Chemistry 2006 ; 96(4):562-571
A. Malik, F. Afaq, S. Sarfaraz, V.M. Adhami, D.N. Syed and H. Mukhtar, The Journal of Urology 2006;175(3):1171
M.Maskan, Journal of Food Engineering 2006;72(3):218-224
L. Simin et al, Fruit and vegetable intake and risk of cardiovascular disease:the Women’s Health Study. Am J Clin Nutr 2000;72:922–8

ข้อแนะนำ

ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี

บทความที่ได้รับความนิยม