วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผักผลไม้ที่มีสีม่วงแดง ม่วง และสีน้ำเงิน Red Purple , Purple and Blue Fruits and Vegetables

ผักผลไม้ที่มีสีม่วงแดง ม่วง และสีน้ำเงิน 
Red Purple , Purple and Blue Fruits and Vegetables

          สีม่วงแดง ในผักผลไม้กลุ่มสีนี้มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยปกป้องผักผลไม้จากการทำลายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต เลยทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ช่วยชะลอการเกิดการอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว

          ผักผลไม้สีน้ำเงิน ม่วง มีสารแอนโธไซยานิน (anthocyanin) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และดวงตา ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน เผือก มะเขือม่วง ข้าวเหนียวดำ ข้าวแดง มันสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว องุ่นม่วง ลูกพรุน ถั่วดำ/แดง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น องุ่นแดง บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ฯลฯ

ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน

          ผักผลไม้ในกลุ่มนี้จะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ละลายน้ำได้ เป็นสารให้สีตามธรรมชาติที่จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ สีของแอนโทไซยานินจะเปลี่ยนไปตามสภาวะความเป็นกรด-ด่าง เป็นสารที่ให้สีตั้งแต่สีน้ำเงินเข้มหรืออาจไม่มีสีเลยเมื่อในอยู่สภาวะด่าง (pH>7) จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง (pH=7) และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงแดงเข้มได้ในสภาวะเป็นกรด (pH<7) สารในกลุ่มแอนโทไซยานิน ที่อยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มีอยู่ 6 ชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ เพลาโกนิดิน (pelargonidin), ไซยานิดิน (cyanidin), เดลฟินิดิน (delphinidin), พีโอนิดิน (peonidin), เพทูนิดิน (petunidin) และ มาลวิดิน (malvidin)

ประโยชน์ของแอนโทไซยานิน

- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีการวิจัยพบว่าแอนโทไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า
- ลดอาการอักเสบ
- ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดได้
- ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
- ป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้และตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและ มะเร็งของระบบสืบพันธุ์
- ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสีย
- ต้านไวรัสได้

          ผักผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง ที่มีแอนโทไซยานินสูง ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง มันสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ หอมแดง ดอกอัญชัน น้ำว่าน-กาบหอย เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิ้ลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่ ฯลฯ

ที่มา : สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน
ภญ.ดร.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=152

เอกสารอ้างอิง

Pascual-TeresaMaria S, Sanchez-Ballesta T. Anthocyanins: from plant to health. Phytochemistry Reviews. 2008; 7 (2): 281-299.
แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มิถุนายน 2553

ข้อมูลเพิ่มเติม :St. Mary's Health System
http://www.stmarysmaineblog.com/tag/fruits

Blue/purple

Blues and purples not only add beautiful shades of tranquility and richness to your plate, they add health enhancing flavonoids, phytochemicals, and antioxidants, such as anthocyanins, vitamin C, folic acid, and polyphenols. These nutrients help your body defend against cancer, reduce the risk of age-related memory loss, help control high blood pressure, and reduce the risk of diabetes complications and heart attacks.

ข้อแนะนำ

ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี

บทความที่ได้รับความนิยม